Nina Ricci (นินา ริคชี) ตอน 1


นินา ริคชี เป็นแบรนด์ที่สร้างความมีชื่อเสียงมาจากน้ำหอม ซึ่งถือว่าเป็นน้ำหอมที่คลาสสิก แม้แต่คุณป้าผมก็ท่านก็ยังใช้น้ำหอมของแบรนนี้ หลังจากที่สร้างชื่อเสียงในวงการแฟชั่น แบรนด์ก็ถูกซื้อไปเป็นขอนายทุนเช่นเดียวกับแบรนด์แฟชั่นอื่นๆ เธอเป็นหนึ่งในผู้หญฺิงที่มีบุคคลิกดี จนใครๆก็เรียกเธอว่า "มาดาม ริคชี " ชื่อจริงของเธอคือ มาเรีย เนียลลี (Maria Nielli)


มาเรีย เนียลลี่ เกิดในปี 1883 ที่ตูรินประเทศอิตตาลี่ แต่พออายุได้ 5 ขวบก็ไปอยู่ฟลอแรนซ์ จน 12 ขวบก็เดินทางไปปารีส มาเรียเริ่มต้นเรียนตัดเย็บตั้งแต่อายุ 13 ปี เพื่อช่วยครอบครัวทำงานหารายได้เข้าบ้าน เธอได้งานเป็นช่างตัดเย็บที่ร้านเสื้อแห่งหนึ่ง จนได้เป็นหัวหน้าช่างเมืออายุเพียง 18 ปี จนกระทั้งอายุ 22 เธอก็ได้เลื่อนตัวมาเป็นดีไซน์เนอร์ และได้มาพบรักกับหนุ่มช่างเตียรเพชร ชื่อ ลุย ริคชี ชาวอิตตาเลี่ยน ให้กำเนิดบุตรชายหนึ่งคน คือ โรเบิร์ต ริคชี และนี่เป็นที่มาให้เธอหันมาใช้ชื่อ นินา ริคชี ตลอดมา

ในปี 1908 นินา ริคชี ย้ายไปทำงานให้กับห้องเสื้อที่ชื่อว่า ราฟฟิน (Raffin) โดยเป็นดีไซน์เนอร์ให้นานถึง 20 ปี ช่วงนั้นเธอก็มีอายุเข้า 50 ปี และมีชื่อเสียงที่โด่งดังมาก จนมีลูกค้าประจำ ทั้งคนที่มีเงินและมีชื่อเสียงในปารีสเป็นส่วนใหญ่ โดยลูกค้าของเธอก็จะเรียกเธอว่า มาดาม ริคชี เสมอๆ จนลูกชายของเธอ บอกให้แม่ออกมาเปิดห้องเสื้อของตัวเอง เพราะเชื่อมั่นในฝีมือการตัดเย็บของแม่ เธอจึงมาเปิดห้องเสื้อ โอต์ กูตูร์ ซึ่งเป็นห้องเสื้อชั้นสูงอันเป็นที่นิยมของคนปารีสในสมัยนั้น นินา ริคชี ก็ถูกเปิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ถนนคาปูซีนส์ ในกรุงปารีส ปี 1932

ห้องเสื้อ นินา ริคชี เริ่มมีชื่อเสียงและเติบโตมีลูกค้ามากมายขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนนึงก็มาจากลูกค้าเก่าที่ตามเธอมาจากร้านเดิม ฝีมือการตัดเย็บของมาดาม ริคชี ก็เป็นการตัดเย็บแบบดัเงเดิม ดังนั้น จึงเป็นที่ต้องการลูกค้าชั้นสูงที่ต้องการความบรรจง ประณีตเป็นพิเศษ


นอกจากเสื้อผ้าทั่วไปแล้ว ก็ยังมีชุดราตรีที่งดงาม ชุดที่สร้างชื่อเสียงให้กับเธอคือชุดแบบ X Croos ชุดราตรีแบบไขว้รัดหน้าอก กับชุดเปลือยไหล่ที่เห็นคองามระหง  ร้านของเธอไปได้สวย จนสามารถมีพนักงานถึง 450 คนแล้ย้ายไปอยู่ที่อาคาร 11 ชั้น จนมาถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทุกอย่างฝืดเคืองไปหมด แต่ก็กลับมาเปิดตัวห้องเสื้อใหม่ในปี 1954 แต่แนวคิดของโรเบิร์ต ริคชี ในการที่จะจัดแสดงแบบเสื้อขึ้น เพื่อดึงดูลูกค้ากระเป๋าหนักให้หันมาจับจ่ายเสื้อผ้า ถือเป็นการระดมเงินฟื้นฟูสภาพในช่วงนั้น โดยเข้าขอความร่วมมือจากห้องเสื้อชั้นสูงกว่า 40 แห่ง เพื่อออกคอลเลกชั่น 172 ชุด เช่น Balenciaga Madame Gres โดยได้รับแรงสนับสนุนจาก Lucien Lelong  ผู้เป็นเจ้าแห่งห้องเสื้อในวงการแฟชั่นในขณะนั้น


หลังจากที่เสื้อผ้ากลับมาขายได้ โรเบิร์ต ริคชี ก็ได้สนใจที่จะผลิตน้ำหอม ที่ชื่อว่า เกอร์ ชัวร์ (Coeur-Joie) ที่มีความหมายว่าเบิกบานใจ โดยจ้างนักออกแบบขวดน้ำหอมให้อย่างหรูหรา และวางขายที่ห้องเสื้อ นินา ริคชี จนในปี 1948 ก็ได้มีสูตรที่ 2 ออกมา ชื่อว่า แลร์ ดู ตองส์ (L'Air du Temps) 


__________________
ติดตามอ่านต่อในตอนที่ 2