Nina Ricci ตอน 2


หลังจากที่น้ำหอมทั้งสองกลิ่นขายดี จนกระทั้งในปี 1954 มาดามริคชี ก็ได้เกษียณตัวเองเนื่องจากชรามาแล้ว จึงมอบหมายงานให้กับ Jules Francois Crahay ดูแลงานต่อไป โดยยังคงคอนเซปของแบรน ก็คือ การเน้นลูกค้าชั้นสูง มีรสนิยม ดีไซน์ไม่แหวกแนวจนเกินไป ถึงแม้จะเข้าสู่ช่วงวัฒนธรรม Pop แบรนก็ยังคงรูปแบบเดินอย่างเคร่งครัด

ในช่วงที่น้ำหอมของแบรนกำลังโด่งดัง โรเบิร์ต ริคชี ก็พยายามนำแบรนสู่การทำเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยอาศัยชื่อเสียงเดิมของแม่เค้าเอง ในระหว่างที่กำลังขยายกิจการ นินา ริคชี ก็เสียชีวิตลงในวัย 87 ปี เธอเองจึงไม่มีโอกาสเห็นธุรกิจเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ น้ำหอมของเธอขายดีอันดับต้นๆของโลก นอกจากนี้ โรเบิร์ตก็ยังได้ก่อตั้ง Ury Perfume Production Centre เพื่อเป็นศูนย์ในการศึกษาค้นคว้าการวิจัยและผลิตน้ำหอมและเครื่องเทศต่างๆ


ในปี 1986 ก็ได้มีสินค้าของผู้ชายที่ชื่อว่า Ricci Club และยังมีน้ำหอมผู้ชายออกมาอย่างต่อเนื่องเช่น นินา ริคชี มองซิเออร์

โรเบิร์ต ริคชี ลูกชายและผู้บริหารของแบรนก็เสียชีวิตลงในปี 1988 อายุได้ 83 ปี ทิ้งธุรกิจของกลุ่มบริษัทให้กับ กิลเลส ฟุคส์ จนมาวันนึงธุรกิจก็ประสบกับปัญหาทางการเงิน จึงตัดสินใจขายกิจการให้กับนักธุรกิจแฟชั่นกลุ่มสเปน และดีไซน์เนอร์คนล่าสุดที่มาดูแลคือ โอลิเวียร์ เธสเคนส์ (Olivier Theyskens)


จากเรื่องราวของ นินา ริคชี ทำให้เราได้ทราบว่า การที่ครอบครัวช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะแม่ผู้เป็นดังหัวเรือสำคัญในการออกแบบเสื้อผ้า และได้ลูกชาย ที่มารับหน้าที่ในการบริหารจัดการแบรนทั้งหมด ทำให้ชื่อเสียงของ นินา ริคชี เป็นที่รู้จักมากขึ้น บางครั้งการจัดการที่ดี ก็ถือเป็นหัวใจสำคัญของแบรนด์ไม่แพ้คุณภาพและฝีมือการตัดเย็บ โดยเฉพาะแบรนสินค้าแฟชั่นในปัจจุบัน ที่เรียกว่ามีเยอะมากและคุณภาพไม่ต่างกันมาก ใครที่บริหารจัดการได้ดีก็ย่อมมีโอกาสที่จะอยู่รอดต่อไป